เมนู

อรรถกถาอกัมมนิยวรรคที่ 3



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 3 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวิภาวิตํ ความว่า ไม่เจริญ คือไม่เป็นไปด้วยอำนาจ
ภาวนา บทว่า อกมฺมนิยํ โหติ ได้แก่ ย่อมไม่ควรแก่งาน คือไม่คู่ควร
แก่งาน.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 พึ่งทราบความโดยปริยายดังกล่าวแล้ว ก็บทว่า
จิตฺตํ ในสูตรที่ 1 นั้น ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ (ในสูตรที่ 2
ได้เก่จิตที่เกิดด้วยอำนาจวัฏฏะ) ก็ในสองอย่างนั้น พึงทราบความ
แตกต่างกันดังนี้ คือ วัฏฏะ วัฏฏบาท วิวัฏฏะ วิวัฏฏบาท กรรมอัน
เป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า วัฏฏะ กรรมคือการกระทำเพื่อได้วัฏฏะ ชื่อว่า
วัฏฏบาท โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า วิวัฏฏะ กรรมคือการปฏิบัติเพื่อได้
วิวัฏฏะ ชื่อว่า วิวัฏฏบาท ท่านกล่าววัฏฏะและวิวัฏฏะ ไว้ในสูตร
เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 พึงทราบจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะนั่นแล
บทว่า มหโต อนตฺถาย สํวตฺตติ ความว่า จิตแม้ให้เทวสมบัติ มนุษย-
สมบัติ และความเป็นใหญ่ในมารและพรหม ยังให้ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเนือง ๆ และให้
วัฏฏะคือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท ย่อมให้แต่กองทุกข์
อย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่.
จบ อรรถสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4


บทว่า จิตฺตํ ในสูตรที่ 4 ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะ.
จบ อรรถกถสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5 - 6


ในสูตรที่ 5 - 6 มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า อภาวิตํ
อปาตุภูตํ
ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ดังนี้ ในข้อนั้นมีอธิบายดัง
ต่อไปนี้ว่า จิตแม้เกิดด้วยอำนาจวัฎฏะ ก็ชื่อว่าไม่อบรม ไม่ปรากฏ
เพราะเหตุไร ? เพราะไม่สามารถจะแล่นไปในวิปัสสนาที่มีฌาน
เป็นบาท มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นโลกุตตระ ส่วนจิตที่เกิดด้วย
อำนาจวิวัฏฏะ ชื่อว่าเป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะเหตุไร ?
เพราะสามารถแล่นไปในธรรมเหล่านั้นได้ ส่วนท่านพระปุสสมิตต